ปลากับวัฒนธรรมญี่่ปุ่น

ปลากับวัฒนธรรมญี่่ปุ่น

ข้อมูลญี่ปุ่น 27 สิงหาคม 2563

Views : 2762

ปลากับวัฒนธรรมญี่่ปุ่น

 

     ปลาได้รับการยอมรับและแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น อาหารโอเซะจิที่รับประทานเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ วัตถุดิบจากท้องทะเล เป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ในการนำมาประกอบเป็นเมนูอาหาร อย่าง "ทะทซึคุริ" ที่ทำจากปลาตัวเล็กๆ กับ "คมบุมะกิ" ที่ทำจากสาหร่ายคมบุ นอกจากนี้ ทะเล แม่น้ำ ลำธารไม่ได้มอบอาหารสำหรับการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มนุษย์สัมผัสกับธรรมชาติและการพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ การดำรงชีวิตในแต่ละวันของชาวญี่ปุ่นจึงมีความใกล้ชิดกับสัตว์น้ำ และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในแต่ละฤดูกาล

 

ปลาคาร์ป

อ้างอิงภาพ : 月香. なぜ子どもの日には鯉のぼりを飾るの [Online]. Cited 2020 Augustl 27. Available from: https://news.mynavi.jp/article/20170427-tango2/

 

     ทุกวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี ที่ประทศญี่ปุ่นเป็นวันเทศกาลเด็กผู้ชาย ในวันนี้ครอบครัวจะเฉลิมฉลองให้ลูกชายเติบโตด้วยสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และมีความสุข ในวันนี้ ครอบครัวที่มีลูกผู้ชาย จะประดับธงปลาคาร์ปขนาดใหญ่ไว้นอกตัวบ้าน ปลาคาร์ปเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งและความสำเร็จ จึงถูกเลือกใช้เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ เนื่องจากมีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า ปลาคาร์ปเมื่อว่ายทวนกระแสน้ำสำเร็จจะกลายเป็นมังกร

 

ชาจิ

อ้างอิงภาพ : The 8th Ronin. ปราสาทนาโงย่า (Nagoya Castle) [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563. ที่มา: https://travel.marumura.com/nagoya-castle/

 

     "ชาจิ" ประดับอยู่บนหลังคาของปราสาทญี่ปุ่น ชาจิ คือ สัตว์ในจินตนาการ มีลักษณะหัวเป็นเสือ ลำตัวเป็นปลามีลักษณะตั้งชี้ขึ้น ปากของชาจิพ่นน้ำออกมาเพื่อดับไฟ และมีพลังในการช่วยป้องกันการเกิดไฟไหม้ อาคารจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้นจากไม้ จึงง่ายต่อการเกิดอัคคีภัย ด้วยเหตุนี้ อาคารที่มีความสำคัญ เช่น พระอุโบสถของวัด หรือ หอคอยของปราสาทจะประดับชาจิไว้ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกันการเกิดอัคคีภัย ชาจิที่มีชื่อเสียง คือ ชาจิทองคำของปราสาทนาโงยา ที่มีความสูง 258 ชม. มีน้ำหนักมากถึง 1,215 ก.ก. และใช้ทองคำ 18K น้ำหนักรวม 43.4 ก.ก.

 

ปลามะได

恵比寿様のイラスト

อ้างอิงภาพ : いらすとや. 恵比寿のイラスト(七福神)[Online]. Cited 2020 Augustl 27. Available from: https://www.irasutoya.com/2014/06/blog-post_9149.html

 

     ปลามะได เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณในฐานะปลามงคล สำหรับชาวญี่ปุ่น ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ขาดเสียไม่ได้ในงานมงคล เนื่องจากมีปลาไม่กี่ชนิด ที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่ในพื้นที่เดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่นจึงนิยมเสิร์ฟปลามะไดทั้งตัวในงานแต่งงาน นอกจากนี้ "เทพเอะบิสุ" หนึ่งในเทพเจ้าแห่งโชคลาภทั้ง 7 ของประเทศญี่ปุ่นมือข้างหนึ่งจะหนีบปลามะไดไว้ข้างตัวในปัจจุบัน เทพจ้าองค์นี้ เป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายรุ่งเรื่อง โดยแต่เดิมเป็นเทพเจ้าแห่งการประมง โดยเหล่าชาวประมงจะขอพรเพื่อขอให้จับปลาได้จำนวนมาก

 

ที่มา: สำนักข่าวสารสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. จากญี่ปุ่น. 2563; 2563 (ฉบับที่ 2): หน้า 7.

暑い [atsui]

ความหมาย : ร้อน