เฮียะกุนินอิฌฌุ(百人一首)
เฮียะกุนินอิฌฌุ(百人一首)เป็นหนังสือรวมบทกลอนญี่ปุ่นซึ่งรวบรวมขึ้นในช่วง ค.ศ. 1235 โดยฟุจิวะระ โนะ ซะดะอิเอะ (藤原定家) หรือที่มักเรียกกันว่า “เทะอิกะ” เทะอิกะได้คัดเลือกบทกลอนของกวีที่มีชื่อเสียงจำนวน 100 คน โดยเอามาคนละบท ใน เฮียะกุนินอิฌฌุ มีบทกลอนที่แต่งโดยกวีหญิงทั้งสิ้น 20 บท (ไม่นับรวมบทกลอนพระราชนิพนธ์ของจักรพรรดินีจิโต) โดยในจำนวนนั้นเป็นกลอนหมวดความรัก 14 บท กลอนหมวดฤดูใบไม้ผลิ 2 บท และหมวดอื่นๆ 5 บท บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการประพันธ์กลอนและความงดงามในบทกลอนของกวีหญิงเหล่านี้ จากการศึกษาพบว่ากลวิธีการประพันธ์ที่ใช้บ่อยในกลอนของกวีหญิงเหล่านี้ได้แก่ คะเกะโกะโตะบะ (掛詞คำซ้อนทับพ้องเสียง) เอ็งโงะ (縁語 คำสัมพันธ์) และอุตะมะกุระ (歌枕 การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงสิ่งอื่น) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลวิธีการใช้คำที่สื่อโยงความหมายหลายทาง นอกจากนี้ กลอนในหมวดความรักต่างก็ถ่ายทอดความเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวและความทุกข์เพราะความรักของกวีหญิงเหล่านี้ และยังสะท้อนค่านิยมความงามแบบอุฌิน (有心) หรือความงามที่แฝงด้วยอารมณ์ความรู้สึกอันลึกซึ้งอันเป็นแนวทางกลอนของเทะอิก
ที่มา: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/66562/58279 / https://wepli-dot2.hatenablog.com/entry/hyakuninisshu-app
ความหมาย : ห้องน้ำ