ขั้นตอนการเข้าประเทศญี่ปุ่น

ขั้นตอนการเข้าประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลการศึกษาต่อ 22 มิถุนายน 2552

Views : 5079

เว็บไซต์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม http://www.moj.go.jp/NYUKAN/index.html

วิธีการเข้าประเทศญี่ปุ่น

    (1) ขอรับหนังสืออนุญาตให้เข้าศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เลือก (สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย)
    (2) ขอหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) จากประเทศของตน
    (3) ขอรับการตรวจลงตราวีซ่า ณ สถานทูต หรือ สถานกงสุลญี่ปุ่นในประเทศของตน

    (สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) (2) ขอหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) จากประเทศของตน (3) ขอรับการตรวจลงตราวีซ่า ณ สถานทูต หรือ สถานกงสุลญี่ปุ่นในประเทศของตน

 

สถานภาพการอยู่อาศัย

     สถานภาพการอยู่อาศัย คือ ชนิดหรือประเภทของกิจกรรมที่คนต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นจะเข้าร่วมกิจกรรมได้ และสถานภาพนี้แบ่งออกเป็น 27 ประเภท สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ขอเข้าประเทศเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา(หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) วิทยาลัยเทคนิค หรือหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยเอกชน นักศึกษาจะได้รับสถานภาพการอยู่อาศัยเป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" ซึ่งมีระยะเวลาพำนัก 2 ปี หรือ 1 ปี สำหรับนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นระยะเวลา 1 ปี โดยที่ยังคงสภาพนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในประเทศของตนนั้น จะได้สถานภาพการอยู่อาศัยเป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" ด้วย เช่นกัน

     กิจกรรมได้ และสถานภาพนี้แบ่งออกเป็น 27 ประเภท สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ขอเข้าประเทศเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) วิทยาลัยเทคนิค หรือหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยเอกชน นักศึกษาจะ ได้รับสถานภาพการอยู่อาศัยเป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" ซึ่งมีระยะเวลาพำนัก 2 ปี หรือ 1 ปี สำหรับนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นระยะเวลา 1 ปี โดยที่ยังคงสภาพนักศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยในประเทศของตนนั้น จะได้สถานภาพการอยู่อาศัยเป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" ด้วย เช่นกัน อนึ่ง สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาในสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น ปกติแล้วจะได้สถานภาพการอยู่อาศัยเป็น
"นักศึกษาก่อนวิทยาลัย" ซึ่งมีระยะเวลาในการพำนัก 1 ปีหรือ 6 เดือน 
     หากนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) นักศึกษาก็สามารถขอเปลี่ยนสถานภาพการอยู่อาศัยจาก "นักศึกษาก่อนวิทยาลัย" เป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" ที่กองตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ที่สุดได้

    "นักศึกษาก่อนวิทยาลัย" ซึ่งมีระยะเวลาในการพำนัก 1 ปีหรือ 6 เดือน หากนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) นักศึกษาก็สามารถขอเปลี่ยนสถานภาพการอยู่อาศัยจาก "นักศึกษาก่อนวิทยาลัย" เป็น "นักศึกษา วิทยาลัย" ที่กองตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ที่สุดได้

 

Apply for VISA

ขั้นตอนการขอวีซ่า

วิธีขอวีซ่ามี 2 วิธี คือ

1) กรณีที่ยังไม่มีหนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัย (COE)

    สามารถขอวีซ่าได้ด้วยตนเอง ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลญี่ปุ่นในต่างประเทศ แต่ขั้นตอนจะกินเวลาค่อนข้างมาก เพราะต้องส่งเอกสารไปกลับญี่ปุ่น รวมทั้งต้องส่งเอกสารไปมาระหว่างสถาบันในประเทศญี่ปุ่นด้วย

ค่อนข้างมาก เพราะต้องส่งเอกสารไปกลับญี่ปุ่น รวมทั้งต้องส่งเอกสารไปมาระหว่างสถาบันใน ประเทศญี่ปุ่นด้วย

2) กรณีที่มีหนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัย (COE) แล้ว

     เมื่อนักศึกษาหรือผู้แทนได้รับหนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัยจากกองตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่แล้ว นักศึกษาสามารถขอวีซ่าได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลญี่ปุ่นในต่างประเทศได้ทันที ซึ่งวิธีนี้จะใช้เวลาน้อยเมื่อเทียบกับวิธีแรก สำหรับขั้นตอนการขอ "หนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัย" โดยใช้วีซ่านั้น วีซ่า"นักศึกษาวิทยาลัย"
และ"นักศึกษาก่อนวิทยาลัย" จะมีขั้นตอนในการยื่นขอวีซ่าเหมือนกัน แต่ว่าเอกสารที่จำเป็นส่วนหนึ่งจะแตกต่างกัน

    *ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการพิจารณาเกี่ยวกับการเข้าประเทศและการพำนักเพื่อการศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยและนักศึกษาก่อนวิทยาลัยใหม่แล้ว สำหรับนักศึกษาวิทยาลัย และนักศึกษาก่อนวิทยาลัยที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโรงเรียนอาชีวศึกษา หรือสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่มีนักศึกษาต่างชาติพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมาย

     ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากนั้น หากเป็นผู้สมัครที่มาจากพื้นที่ หรือประเทศที่เคยเกิดปัญหาผู้การพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายแล้ว ผู้สมัครเหล่านี้จะถูกตรวจสอบภูมิหลัง ระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นและความสามารถทางการเงินอย่างเคร่งครัดทันที เอกสารที่ใช้ยืนยันสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านที่บันทึกประวัติการศึกษาและอาชีพไว้ เอกสารรับรองการศึกษาขั้นสุึดท้ายและประวัติการศึกษา เอกสารรับรองการสอบ EJU หรือการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น

      (*1) เอกสารรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (ต้องยื่นสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากและเอกสารแสดงรายละเอียดการฝากถอนเงินฝาก พร้อมกับเอกสารแสดงยอดเงินฝากคงเหลือให้ชัดแจ้งด้วย) และหนังสือรับรองอาชีพของผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย เป็นต้น

      การพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายแล้ว ผู้สมัครเหล่านี้จะถูกตรวจสอบภูมิหลัง ระดับความสามารถทาง ภาษาญี่ปุ่นและความสามารถทางการเงินอย่างเคร่งครัดทันที เอกสารที่ใช้ยืนยันสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านที่บันทึกประวัติการศึกษาและอาชีพไว้ เอกสารรับรองการศึกษาขั้นสุึดท้ายและ ประวัติการศึกษา เอกสารรับรองการสอบ EJU หรือการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (*1) เอกสารรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (ต้องยื่นสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากและเอกสารแสดงรายละเอียด การฝากถอนเงินฝาก พร้อมกับเอกสารแสดงยอดเงินฝากคงเหลือให้ชัดแจ้งด้วย) และหนังสือรับรอง อาชีพของผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย เป็นต้น *1 การรับรองระดับความรู้ภาษาญีปุ่นมีดังต่อไปนี้

      1) มหาวิทยาลัย (ยกเว้นหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเอกชน) :
สำหรับหลักสูตรที่ศึกษาด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือหลักสูตรวิจัย จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นประมาณระดับ 2
(ศึกษามาแล้ว 600 ชั่วโมง) หรือมีผลสอบความสามารถทางภาษาของการสอบเพื่อศึกษาต่อในประเทศ
ญี่ปุ่น (วิชาภาษาญีุ่ปุ่น (คะแนนรวมของการฟัง การอ่าน และการอ่านพร้อมฟัง))ประมาณ 200 คะแนน
ขึ้นไป

      สำหรับหลักสูตรที่ศึกษาด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือหลักสูตรวิจัย จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นประมาณระดับ 2 (ศึกษามาแล้ว 600 ชั่วโมง) หรือมีผลสอบความสามารถทางภาษาของการสอบเพื่อศึกษาต่อในประเทศ ญี่ปุ่น (วิชาภาษาญีุ่ปุ่น (คะแนนรวมของการฟัง การอ่าน และการอ่านพร้อมฟัง))ประมาณ 200 คะแนน ขึ้นไป

      2) หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเอกชน : ต้องมีความสามารถทาง
ภาษาประมาณระดับ 4 ขึ้นไป (ศึกษามาแล้ว 150 ชั่วโมง)

      ภาษาประมาณระดับ 4 ขึ้นไป (ศึกษามาแล้ว 150 ชั่วโมง)3) วิทยาลัยอาชีวศึกษา (ยกเว้นสถาบันที่มีการสอนภาษาญีปุ่นเพียงอย่างเดียว) : ต้องมีความรู้ภาษา
ญี่ปุ่นระดับ 2 หรือมีผลสอบความสามารถทางภาษาของการสอบเพื่อศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น (วิชาภาษาญีุ่ปุ่น (คะแนนรวมของการฟัง การอ่าน และการอ่านพร้อมฟัง))ประมาณ 200 คะแนนขึ้นไป รวมทั้งต้องศึกษาภาษาญี่ปุ่นในสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ตามข้อบังคับของกระทรวงยุติธรรม หรือต้องได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียน (ยกเว้นอนุบาล) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตราที่ 1 ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

Procedure for taking exam

ขั้นตอนการเข้าญี่ปุ่นเพื่อสอบคัดเลือก

     ในกรณีที่จะเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อสอบคัดเลือกนั้น ตามปกติแล้ว นักศึกษาจำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าประเภท “พำนักระยะสั้น” เพื่อสอบคัดเลือกจากสถานทูตหรือสถานกงสุลญี่ปุ่นในประเทศของตนเสียก่อน ซึ่งในการยื่นขอวีซ่าประเภทนี้นั้น จำเป็นต้องใช้เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบของสถาบันที่เข้าสอบ ด้วย การเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นด้วยวีซ่าประเภทนี้มีระยะเวลาในการพำนักประมาณ 15 ถึง 90 วัน แต่หากดำเนินการขอเข้าศึกษาเสร็จสิ้น รวมทั้งได้รับหนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัยภายในระยะเวลานี้ นักศึกษาก็สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสถานภาพการอยู่อาศัยได้ สำหรับเรื่องนี้ ขอให้นักศึกษาติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่นั้นๆ

ผู้ค้ำประกั้นการเข้าประเทศ

     ระบบผู้ค้ำประกันที่จำเป็นต่อการพิจารณาการขอเข้าประทศหรือขอพำนัก ของกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2539 ทว่า หากนักศึกษาไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้นด้วยตนเองได้ก็จำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้นนอกจากนี้ ก็อาจจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันในการเรียนด้วย

การลงทะเบียนชาวต่างชาติ

     ชาวต่างชาติที่มีกำหนดจะพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 90 วัน จะต้องยื่นขอลงทะเบียนชาวต่างชาติ ณ ที่ทำการหมู่บ้าน ตำบล เขต หรือเมืองที่ตนพำนักภายในเวลา 90 วัน นับแต่วันเข้าประเทศ


     (1) ขั้นตอนการลงทะเบียน
          โดยหลักการแล้ว นักศึกษาจะต้องกรอกหัวข้อตามที่ระบุลงใน “คำร้องขอลงทะเบียนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ”  ที่แผนกรับผิดชอบ ในที่ทำการหมู่บ้าน ตำบล เขต หรือเมืองที่ตนพำนักอยู่ ด้วยตนเอง โดยนำพาสปอร์ต และรูปถ่าย 2 ใบไปด้วย

     (2) การพกบัตรติดตัว และการคืนบัตร

          เนื่องจากเมื่อยื่นคำร้องขอลงทะเบียนชาวต่างชาติแล้ว ที่ทำการหมู่บ้าน ตำบล เขต หรือเมืองจะแจ้งกำหนดให้มารับบัตรไว้ในใบนัดรับ นักศึกษาจึงสามารถนำใบนัดรับมารับ “บัตรประจำตัวชาวต่างชาติ” ได้ตามกำหนดเวลานั้นในภายหลังชาวต่างชาติที่ได้รับบัตรประจำตัวชาวต่างชาติแล้ว จะต้องพกติดตัวไว้เสมอ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง หรือตำรวจขอดู ต้องมีบัตรเอาไว้แสดงด้วย อนึ่ง เมื่อจะออกจากประเทศ จะต้องคืนบัตรให้แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินนั้นๆ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้อีกครั้ง

การกลับประเทศชั่วคราว

      ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นสามารถเดินทางกลับประเทศของตนหรือเดินทางไปยังประเทศที่สามแล้วเดินทางกลับมายังญี่ปุ่นอีกครั้งด้วยสถานภาพการอยู่อาศัยเดิมได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวีซ่า โดยไม่ต้องไปขอวีซ่าที่สถานกงสุลในต่างประเทศอีก เมื่อได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าประเทศ
ญี่ปุ่นอีกครั้ง ณ กองตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ต่างๆ ก่อนเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น โดยไม่เกิน
ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตนั้น


การขอต่อวีซ่า

      หากต้องการพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตอนที่เข้ามาในประเทศ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตแก้ไขวีซ่าที่กองตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ ภายในระยะเวลาพำนักซึ่งวีซ่ากำหนดเอาไว้ (โดยปกติแล้ว จะประมาณ 2 เดือน) ชาวต่างชาติผู้พำนักอยู่เกินเวลาที่กำหนด จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ และยังอาจถูกเนรเทศออกนอกประเทศด้วยการขอเปลี่ยนสภาพการอยู่อาศัยชาวต่างชาติที่ต้องการเปลี่ยนสถานภาพการอยู่อาศัย เพื่อทำกิจกรรมที่ต่างไปจากเดิม จำเป็นต้อง
ทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานภาพการอยู่อาศัย ณ กองตรวจคนเข้าเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อนึ่ง หากมีการพำนักอยู่ในญี่ปุ่นเกินกว่าเวลาที่กำหนดโดยไม่ขอเปลี่ยนสถานภาพ หรือมีการทำกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดรายได้หรือกิจกรรมซึ่งมีผลตอบแทนนั้น จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ และยังอาจถูกเนรเทศออกนอกประเทศอีกด้วย

การติดตามครอบครัวเข้าประเทศญี่ปุ่น

      คู่สมรสหรือบุตรของชาวต่างชาติซึ่งมีสถานภาพเป็น "นักศึกษาวิทยาลัย" จะได้สถานภาพในการพำนักเป็น "พำนักอยู่กับครอบครัว" และสามารถพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ 1 หรือ 2 ปี ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวีซ่าของผู้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาวิทยาลัยในกรณีที่นักศึกษาต่างชาติต้องการให้คู่สมรสและบุตรมาอยู่ด้วย ขอแนะนำว่าควรรอให้ตนเคยชินกับชีวิตในญี่ปุ่น และมีความพร้อมในด้านต่างๆ รวมถึงด้านการเงินเสียก่อน แล้วจึงค่อยนำครอบครัวตามเข้ามาด้วยจะดีกว่า เนื่องด้วยการขอเปลี่ยนวีซ่าเป็น "พำนักอยู่กับครอบครัว" ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับครอบครัวของนักศึกษาที่เข้าประเทศมาด้วยวีซ่า "พำนักระยะสั้น" (เรียกง่ายๆ ว่า "วีซ่าท่องเที่ยว") นั้น ทำได้ยาก
จึงขอให้ระวังตรงจุดนี้ให้ดีด้วย

連休 [ren-kyu]

ความหมาย : วันหยุดติดต่อกันหลายวัน